พฤติกรรมเด็กวัยทอง 2 ขวบต้องรีบแก้ไข มีอะไรบ้าง
การแสดงอารมณ์ของเด็ก เพื่อบอกความต้องการ เป็นอีกพัฒนาการหนึ่ง ผู้ปกครองทุกท่านคงเคยได้ยินคำว่า วัยทอง 2 ขวบ ซึ่งหลายบ้านคงเตรียมพร้อมสำหรับพฤติกรรมดื้อซน ต่อต้านของเด็กวัยทอง แต่ในขณะเดียวกันบางพฤติกรรมของลูก หรือพฤติกรรมในช่วงวัยทอง ผู้ปกครองเองก็ไม่ควรปล่อยละเลย เพราะคิดว่าเดี๋ยวผ่านช่วงวัยทองไป เขาก็หายเอง ซึ่งบางพฤติกรรมของเด็ก อาจส่งผลกระทบด้านอื่น ๆ ตามมาไปจนถึงเติบโตได้เลย หากไม่รีบปรับพฤติกรรม ไปดูกันว่า พฤติกรรมก้าวร้าว ดื้อซน แบบไหนบ้างที่น่าเป็นห่วง และควรต้องปรับด่วน
- เมื่อไม่พอใจ เด็กทำร้ายตนเอง หรือทุบตีผู้ปกครอง
- ฉุดกระชากผู้ปกครอง เพื่อให้ตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ
- ชักดิ้นชักงอกับพื้น
- อาละวาด ปาข้าวของ ทำลายข้าวของ
- เด็กร้องไม่หยุดเป็นชั่วโมง
- ไม่ยอมเชื่อฟังใครเลย
บทความนี้ได้รับการตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์ โดยคุณฟ้า วริษฐา ถิ่นถลาง นักจิตวิทยาคลินิก
สาเหตุเด็กเอาแต่ใจ ชอบกรี๊ด ชักดิ้นชักงอ ปาข้าวของ
วัยทอง 2 ขอบ
หากเป็นเด็กที่อยู่ในช่วงวัยทอง 2 ขวบ การแสดงพฤติกรรมดังกล่าวออกมา เนื่องจากเด็กวัยนี้จะเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง กล้าทำ กล้าแสดงออก รักอิสระ ไม่ชอบการถูกบังคับ เมื่อถูกคุณพ่อคุณแม่ขัดใจ หรือออกคำสั่งในสิ่งที่เขาไม่ชอบ ลูกอาจแสดงพฤติกรรมต่อต้าน ด้วยการกรี๊ด อาละวาด ทำลายข้าวของ ชักดิ้นชักงอที่พื้น เพื่อแสดงความไม่พอใจออกมา หรือเด็กร้องไม่หยุด หากไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ซึ่งพื้นฐานทางอารมณ์ สิ่งแวดล้อม และการอบรมเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง ล้วนมีผลต่อพฤติกรรมเด็กที่แสดงออกมา ซึ่งจะมากหรือน้อยต่างกันออกไป
ผู้ปกครองตามใจจนเคยชิน
อีกสาเหตุหนึ่งของพฤติกรรมลูกชอบกรี๊ด โวยวาย ปาข้าวของ เด็กร้องไม่หยุดอาจเป็นเพราะเด็กเคยชินและติดนิสัยกับการแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ แล้วพ่อแม่ตอบสนองในสิ่งที่ต้องการเสมอ ทำให้เด็กเรียนรู้ว่า หากกรี๊ด โวยวาย ทำลายข้าวของ คุณพ่อคุณแม่ต้องตามใจ จึงทำพฤติกรรมเช่นเดิมซ้ำ ๆ
พัฒนาการด้านการสื่อสารล่าช้า
การแสดงออกทางอารมณ์ และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของลูกกรี๊ด โวยวาย เด็กร้องไม่หยุด อาจไม่ใช่การเอาแต่ใจ หรือเป็นเด็กดื้อเสมอไป แต่เขากำลังสื่อสารกับพ่อแม่ เพื่อต้องการความสนใจ เรียกร้องอะไรบางอย่าง หรือไม่พอใจ แต่ไม่สามารถใช้คำพูดเพื่อสื่อสารบอกความต้องการได้
ปรึกษาผู้เชี่ยวเพื่อหาสาเหตุเด็กก้าวร้าวที่แท้จริง
ผลกระทบของพฤติกรรมเด็กชอบกรี๊ด โวยวาย เอาแต่ใจ
การแสดงออกเพื่อบอกความต้องการ แสดงอารมณ์ ความรู้สึกให้อีกฝ่ายรับรู้ไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่หากไม่ช่วยปรับพฤติกรรมลูกให้สื่อสารด้วยการพูด เพื่อบอกความต้องการ หรือแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมแทนการกรี๊ด โวยวาย ปาข้าวของ ชักดิ้นชักงอเมื่อไม่พอใจ หรือเรียกร้องอะไรบางอย่าง สามารถส่งผลผลกระทบด้านอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนี้
- เด็กมีภาวะอารมณ์ที่ไม่มั่นคง ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกตนเองได้ (Sense-Control)
- การแสดงออกทางอารมณ์ไม่เป็นไปตามวัย (Emotional Infantilism)
- ขาดความมั่นใจในตนเอง (Self-Esteem)
- ไม่สามารถจัดการงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จได้
- พัฒนาการด้านสังคมบกพร่อง เนื่องจากเด็กชอบกรี๊ด โวยวาย ทำลายข้าวของ ชักดิ้นชักงอ อาจแสดงพฤติกรรมกับผู้อื่น หรือคุณครู และเพื่อนๆ เมื่อเข้าโรงเรียน ทำให้คนอื่นอาจมองว่า ลูกเป็นเด็กดื้อ เด็กก้าวร้าว และไม่มีใครอยากเล่นด้วย
- เกิดความวิตกกังวล เครียด อาจนำไปสู่โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลได้ในอนาคต
ลูกชอบกรี๊ด โวยวาย ทำลายข้าวของ ชักดิ้นชักงอ ร้องไห้ไม่หยุดเมื่อถูกขัดใจ อาจดีขึ้นเมื่อเด็กเริ่มโต แต่ถึงอย่างไร การชี้นำแนวทางการแสดงออกของพฤติกรรมที่เหมาะสมก็ยังมีความสำคัญอยู่ไม่น้อย เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปว่า เด็กสามารถซึมซับและติดนิสัยไปจนถึงเติบโตได้ และสามารถส่งผลกระทบตามมามากมายได้เลย ลูกอาจมีพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้นเมื่อถูกขัดใจ ไม่พอใจ กลายเป็นเด็กก้าวร้าว เกเรเมื่อโตขึ้น แก้ไขได้ยาก ผู้ปกครองจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยปรับพื้นฐานทางอารมณ์ สิ่งแวดล้อม เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อพฤติกรรมเด็กปัจจุบันถึงอนาคต
กังวลใจกับพฤติกรรมก้าวร้าวของลูก เริ่มรับมือไม่ไหว ให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยา ช่วยให้คำปรึกษาและวางแผนแนวทางปรับพฤติกรรมเด็ก รวมถึงหาสาเหตุของปัญหาพฤติกรรมเด็กผ่านออนไลน์ ได้เลยที่ 📱 LINE @healthsmilecenter หรือโทร 098-269-2368